การพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน 24 เมษายน 2560

 

1  เกณฑ์การพิจารณาอนุญาตสำหรับโรงงาน  คัดแยกและฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว

                   1.1  ทำเลสถานที่ตั้งโรงงาน

                   -  ไม่อยู่ในบริเวณบ้านจัดสรรเพื่อการพักอาศัย   บ้านแถวเพื่อการพักอาศัยและภายในระยะ  100  เมตร  จากเขตติดต่อสาธารณสถาน  ได้แก่  โรงเรียน  หรือสถาบันการศึกษา  วัด  หรือศาสนสถาน     โรงพยาบาล  โบราณสถาน  และสถานที่ทำการงานของหน่วยงานของรัฐ และให้หมายความรวมถึง         แหล่งอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมตามที่คณะรัฐมนตรีกำหนด

                   -  ไม่ขัดต่อกฎกระทรวง  ตามกฎหมายผังเมืองและได้ผ่านความเห็นชอบจากจังหวัดท้องที่  ที่ตั้งโรงงานหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

                   1.2  เอกสารประกอบการยื่นขออนุญาต ฯ

                   -  สำเนาทะเบียนบ้านและสำเนาบัตรประจำตัวประชาชน (กรณีเป็นบุคคลธรรมดา)

                   -  สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล (อายุไม่เกิน  6  เดือน)  และจะต้องระบุ        วัตถุประสงค์ของการประกอบกิจการโรงงานที่ขออนุญาต ฯ (กรณีเป็นนิติบุคคล)

                   -  แบบแปลนแผนผัง  อาคาร  และการติดตั้งเครื่องจักรในอาคารโรงงาน

                   -  หนังสือรับรองอาคารโรงงานโดยวิศวกร  พร้อมสำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม

                   -  รายละเอียดแสดงกรรมวิธีการผลิต  และมาตรการป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

                   -  ให้แสดงรายละเอียดการจัดแบ่งพื้นที่  การเก็บวัตถุดิบ  การผลิต  การเก็บผลิตภัณฑ์                ในแบบแปลนอาคารโรงงานให้ชัดเจน

                                -  หลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินหรือหนังสือสัญญาเช่าหรือหนังสือยินยอมให้ใช้ที่ดิน                                   -  แบบแปลนและรายละเอียดการคำนวณออกแบบระบบขจัดมลพิษทางอากาศ               พร้อมสำเนาใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม

                             -  แบบแปลนและรายละเอียดการคำนวณออกแบบระบบขจัดมลพิษทางน้ำ  พร้อมสำเนา            ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม

                   -  รายงานเกี่ยวกับการศึกษาและมาตรการป้องกัน  และแก้ไขผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม  (ตามระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรมว่าด้วย  เรื่อง  รายละเอียดหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตประเภทหรือชนิดของโรงงาน  ลำดับที่  105  และลำดับที่  106  พ.ศ.2545)  สำหรับโรงงานลำดับที่  105  ประกอบกิจการ

ฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่ไม่เป็นของเสียอันตราย 

                   -  รายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม  ตามประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม  (EIA)  สำหรับโรงงานลำดับที่  105  ประกอบกิจการคัดแยกหรือ    ฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เป็นของเสียอันตราย

                  1.3  การกำหนดเงื่อนไขการอนุญาตให้ประกอบกิจการโรงงาน

โรงงานลำดับที่  105 :  ประกอบกิจการคัดแยกวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่ไม่เป็นของเสียอันตราย

 

ข้อที่

เงื่อนไขหลัก 

1

การประกอบกิจการคัดแยกวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ให้คัดแยกวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่ไม่เป็นของเสียอันตราย             ตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรมว่าด้วย  เรื่อง  การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ประกอบด้วย เศษกระดาษ เศษพลาสติก เศษโลหะ เศษยาง เศษไม้ เศษแก้ว เศษผ้า

2

ต้องมีมาตรการป้องกันการตกหล่นหรือรั่วซึมของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วระหว่างการขนส่ง

3

อาคารโรงงานต้องมีหลังคาคลุมและพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก

4

ห้ามปฏิบัติงานและกองสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วนอกอาคารโรงงาน

5

ห้ามเผาหรือฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วภายในบริเวณโรงงาน

6

กากของเสียที่เหลือจากกระบวนการผลิตขั้นสุดท้ายต้องนำไปกำจัดโดยใช้บริการโรงงานผู้ให้บริการกำจัดกากอุตสาหกรรม (Waste Processor) ที่ได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมแล้วเท่านั้น

7

ต้องมีสัญญาหรือหนังสือยินยอมการให้บริการระหว่างโรงงานผู้ให้บริการกำจัดกากอุตสาหกรรม        (Waste Processor) กับโรงงานผู้ใช้บริการกำจัดกากอุตสาหกรรม (Waste Generator)  ทุกราย

 

ข้อที่

เงื่อนไขเสริม

1

 ห้ามปฏิบัติงานก่อนเวลา  07.30 น.และภายหลังเวลา 18.30 น.

2

 ต้องมีและใช้ระบบบำบัดน้ำทิ้งที่มีขนาดและประสิทธิภาพเพียงพอที่จะปรับคุณภาพน้ำทิ้งทั้งหมดของ     โรงงานให้มีลักษณะเป็นไปตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ. 2535 ได้ตลอดเวลา

3

ห้ามระบายน้ำทิ้งออกนอกบริเวณโรงงาน

4

ห้ามระบายน้ำทิ้งหลังผ่านการบำบัด แม้จะมีลักษณะเป็นไปตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม  ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 ก็ตาม ลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะโดยตรง   เว้นแต่จะนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น เช่น ในด้านเกษตรกรรม เป็นต้น โดยได้รับ  ความเห็นชอบจาก     กรมโรงงานอุตสาหกรรม

5

ห้ามล้างวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ภายในบริเวณโรงงาน

6

ต้องมีและใช้ห้องโดยเฉพาะสำหรับบดย่อยสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ที่มีขนาดเพียงพอต่อกิจการ     บุด้วยวัสดุกันเสียงสะท้อนหมดทุกด้าน มีแสงสว่างและการระบายอากาศที่เพียงพอ

7

ห้ามบดย่อยสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว

8

ต้องมีและใช้ระบบขจัดฝุ่นละออง กลิ่นเหม็น และเสียงดัง ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตที่มีขนาดและประสิทธิภาพเพียงพอที่จะขจัดได้โดยไม่ก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานและผู้ อยู่อาศัยใกล้เคียง

9

ต้องมีมาตรการป้องกันฝุ่นละออง กลิ่นเหม็น และเสียงดัง ที่เกิดจากการประกอบกิจการโรงงานไม่ให้       ก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานและผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง

โรงงานลำดับที่  105  :  ประกอบกิจการคัดแยกวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เป็นของเสียอันตราย

 

ข้อที่

เงื่อนไขหลัก 

1

 ให้คัดแยกสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วเฉพาะที่ได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมแล้วเท่านั้น

2

ต้องมีมาตรการป้องกันการตกหล่นหรือรั่วซึมของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วระหว่างการขนส่ง

3

อาคารโรงงานต้องมีหลังคาคลุมและพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก

4

ต้องปฏิบัติตามมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อม         ที่เสนอในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยเคร่งครัด

5

ต้องเสนอรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบ  คุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยสรุปให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม และสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทราบ      ทุก  6 เดือน

6

ห้ามปฏิบัติงานและกองสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วนอกอาคารโรงงาน

7

ห้ามเผาหรือฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วภายในบริเวณโรงงาน

8

กากของเสียที่เหลือจากการคัดแยกต้องนำไปกำจัดโดยใช้บริการโรงงานผู้ให้บริการกำจัดกากอุตสาหกรรม (Waste Processor) ที่ได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมแล้วเท่านั้น

9

ต้องมีสัญญาหรือหนังสือยินยอมการให้บริการระหว่างโรงงานผู้ให้บริการกำจัดกากอุตสาหกรรม (Waste Processor) กับโรงงานผู้ใช้บริการกำจัดกากอุตสาหกรรม (Waste Generator)  ทุกราย

10

ต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ระบบเอกสารกำกับการขนส่งของเสียอันตราย พ.ศ.2547 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2547

 

ข้อที่

เงื่อนไขเสริม

1

ห้ามปฏิบัติงานก่อนเวลา  07.30 น.และภายหลังเวลา 18.30 น.

2

ห้ามระบายน้ำทิ้งออกนอกบริเวณโรงงาน

 3

 ห้ามระบายน้ำทิ้งหลังผ่านการบำบัด แม้จะมีลักษณะเป็นไปตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม  ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 ก็ตาม ลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะโดยตรง   เว้นแต่จะนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น เช่น ในด้านเกษตรกรรม เป็นต้น โดยได้รับ  ความเห็นชอบจาก     กรมโรงงานอุตสาหกรรม

4

ห้ามล้างวัตถุดิบและผลิตภัณฑ์ภายในบริเวณโรงงาน

5

ต้องมีและใช้ห้องโดยเฉพาะสำหรับบดย่อยสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ที่มีขนาดเพียงพอต่อกิจการ     บุด้วยวัสดุกันเสียงสะท้อนหมดทุกด้าน มีแสงสว่างและการระบายอากาศที่เพียงพอ

6

ห้ามบดย่อยสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว

7

ต้องมีและใช้ระบบขจัดฝุ่นละออง กลิ่นเหม็น และเสียงดัง ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตที่มีขนาดและประสิทธิภาพเพียงพอที่จะขจัดได้โดยไม่ก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานและผู้ อยู่อาศัยใกล้เคียง

8

ต้องมีมาตรการป้องกันฝุ่นละออง กลิ่นเหม็น และเสียงดัง ที่เกิดจากการประกอบกิจการโรงงานไม่ให้      ก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานและผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง

โรงงานลำดับที่ 105 : ประกอบกิจการฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่ไม่เป็นของเสียอันตราย

 

ข้อที่

เงื่อนไขหลัก 

1

ให้ฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วเฉพาะที่ได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรมแล้วเท่านั้น

2

ต้องปฏิบัติตามมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อม และมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่เสนอในรายงานเกี่ยวกับการศึกษาและมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยเคร่งครัด

3

ต้องมีมาตรการป้องกันการตกหล่นหรือรั่วซึมของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วระหว่างการขนส่ง

4

ห้ามเผาสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วภายในบริเวณโรงงาน

5

ต้องจัดให้มีห้องปฏิบัติการวิเคราะห์คุณลักษณะของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่รับมาฝังกลบและ       ได้รับการขึ้นทะเบียนตามระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม

6

ต้องมีสัญญาหรือหนังสือยินยอมการให้บริการระหว่างโรงงานผู้ให้บริการกำจัดกากอุตสาหกรรม (Waste Processor) กับโรงงานผู้ใช้บริการกำจัดกากอุตสาหกรรม (Waste Generator)  ทุกราย

7

ต้องจัดให้มีวิศวกรผู้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม จัดทำรายงานการควบคุม                การก่อสร้างหลุมฝังกลบให้ถูกต้อง เป็นไปตามหลักวิชาการตั้งแต่เริ่มดำเนินการจนกระทั่งแล้วเสร็จ            โดยให้จัดส่งรายงานพร้อมคำรับรองของวิศวกรให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม และสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทราบเป็นระยะ ๆ ทุก 3 เดือน

 

ข้อที่

เงื่อนไขเสริม

1

 ห้ามปฏิบัติงานก่อนเวลา  07.30 น.และภายหลังเวลา 18.30 น.

2

ห้ามระบายน้ำทิ้งออกนอกบริเวณโรงงาน

3

ห้ามระบายน้ำทิ้งหลังผ่านการบำบัด แม้จะมีลักษณะเป็นไปตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม  ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 ก็ตาม ลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะโดยตรง  เว้นแต่จะนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น เช่น ในด้านเกษตรกรรม เป็นต้น โดยได้รับความเห็นชอบจาก   กรมโรงงานอุตสาหกรรม

4

ห้ามล้างสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วภายในบริเวณโรงงาน

5

ห้ามคัดแยกสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วภายในบริเวณโรงงาน

6

ต้องมีและใช้ระบบขจัดฝุ่นละออง กลิ่นเหม็น และเสียงดัง ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตที่มีขนาดและประสิทธิภาพเพียงพอที่จะขจัดได้โดยไม่ก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานและผู้ อยู่อาศัยใกล้เคียง

7

ต้องมีมาตรการป้องกันฝุ่นละออง กลิ่นเหม็น และเสียงดัง ที่เกิดจากการประกอบกิจการโรงงานไม่ให้       ก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานและผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง

โรงงานลำดับที่ 105 : ประกอบกิจการฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่เป็นของเสียอันตราย

 

ข้อที่

เงื่อนไขหลัก 

1

ให้ฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วเฉพาะที่ได้รับอนุญาตจากกรมโรงงานอุตสาหกรรม  แล้วเท่านั้น

2

ต้องปฏิบัติตามมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่เสนอในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อมโดยเคร่งครัด

3

ต้องเสนอรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการลดผลกระทบสิ่งแวดล้อมและมาตรการติดตามตรวจสอบ           คุณภาพสิ่งแวดล้อม โดยสรุปให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม และสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทราบ              ทุก  6 เดือน

4

ต้องมีมาตรการป้องกันการตกหล่นหรือรั่วซึมของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วระหว่างการขนส่ง

5

ห้ามเผาสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วภายในบริเวณโรงงาน

6

สิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วต้องผ่านกระบวนการปรับเสถียรหรือทำลายฤทธิ์ก่อนนำไปฝัง กลบ

 7

ต้องจัดให้มีห้องปฏิบัติการวิเคราะห์คุณลักษณะของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่รับมาฝังกลบและ             ได้รับการขึ้นทะเบียนตามระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม

8

ต้องมีสัญญาหรือหนังสือยินยอมการให้บริการระหว่างโรงงานผู้ให้บริการกำจัดกากอุตสาหกรรม (Waste Processor) กับโรงงานผู้ใช้บริการกำจัดกากอุตสาหกรรม (Waste Generator)  ทุกราย

 9

ต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ระบบเอกสารกำกับการขนส่งของเสียอันตราย พ.ศ.2547 ลงวันที่ 27 ธันวาคม 2547

10

ต้องจัดให้มีวิศวกรผู้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม จัดทำรายงานการควบคุม                 การก่อสร้างหลุมฝังกลบให้ถูกต้อง เป็นไปตามหลักวิชาการตั้งแต่เริ่มดำเนินการจนกระทั่งแล้วเสร็จ         โดยให้จัดส่งรายงานพร้อมคำรับรองของวิศวกรให้กรมโรงงานอุตสาหกรรม และสำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดทราบเป็นระยะ ๆ ทุก 3 เดือน

 

ข้อที่

เงื่อนไขเสริม

1

 ห้ามปฏิบัติงานก่อนเวลา  07.30 น.และภายหลังเวลา 18.30 น.

2

ห้ามระบายน้ำทิ้งออกนอกบริเวณโรงงาน

3

ห้ามระบายน้ำทิ้งหลังผ่านการบำบัด แม้จะมีลักษณะเป็นไปตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม  ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2539) ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน พ.ศ.2535 ก็ตาม ลงสู่แหล่งน้ำสาธารณะโดยตรง    เว้นแต่จะนำไปใช้ประโยชน์อย่างอื่น เช่น ในด้านเกษตรกรรม เป็นต้น โดยได้รับ   ความเห็นชอบจาก   กรมโรงงานอุตสาหกรรม

4

ห้ามล้างสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วภายในบริเวณโรงงาน

5

ห้ามคัดแยกสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วภายในบริเวณโรงงาน

6

ต้องมีและใช้ระบบขจัดฝุ่นละออง กลิ่นเหม็น และเสียงดัง ที่เกิดขึ้นจากกระบวนการผลิตที่มีขนาดและประสิทธิภาพเพียงพอที่จะขจัดได้โดยไม่ก่อให้เกิดเหตุเดือดร้อนรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานและผู้ อยู่อาศัยใกล้เคียง

7

ต้องมีมาตรการป้องกันฝุ่นละออง กลิ่นเหม็น และเสียงดัง ที่เกิดจากการประกอบกิจการโรงงานไม่ให้       ก่อเหตุเดือดร้อนรำคาญหรือเป็นอันตรายต่อผู้ปฏิบัติงานและผู้อยู่อาศัยใกล้เคียง

 

กฎหมายที่เกี่ยวข้อง

                   -  กฎกระทรวง  ฉบับที่ 15  (พ.ศ.2544)  ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน  พ.ศ.2535  กำหนดให้โรงงานประกอบกิจการเกี่ยวกับการคัดแยกหรือฝังกลบสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่มีลักษณะและคุณสมบัติตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวง  ฉบับที่  2  (พ.ศ.2535)  ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน  พ.ศ.2535  จัดเป็นโรงงานลำดับที่  105  และเป็นโรงงานจำพวกที่  3  ทุกขนาด   

                   -  ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม  ลงวันที่  6  พฤศจิกายน  พ.ศ.2545  เรื่อง  หลักเกณฑ์         การพิจารณาอนุญาตประเภทหรือชนิดของโรงงาน  ลำดับที่  105  และลำดับที่  106 

                   -  ระเบียบกรมโรงงานอุตสาหกรรม  ลงวันที่  25  พฤศจิกายน  พ.ศ.2545  ว่าด้วย  เรื่อง    รายละเอียดหลักเกณฑ์การพิจารณาอนุญาตประเภทหรือชนิดของโรงงาน  ลำดับที่  105  และลำดับที่  106  พ.ศ.2545

                   -  ประกาศกระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม  เรื่อง  กำหนดหลักเกณฑ์      วิธีการ  ระเบียบปฏิบัติ  และแนวทางในการจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม  ออกตามความในพระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ  พ.ศ.2535

          -  กฎกระทรวง  ฉบับที่  2  (พ.ศ.2535)  ออกตามความในพระราชบัญญัติโรงงาน  พ.ศ.2535

          -  ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม  ลงวันที่  27  ธันวาคม  2547  เรื่อง  ระบบเอกสารกำกับการขนส่งของเสียอันตราย  พ.ศ.2547

          -  ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม  ลงวันที่  27  ธันวาคม  2548  เรื่อง  การกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว  พ.ศ.2548