24 เมษายน 2560

                        พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาประชาธิปก พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวมี

พระบรมราชโองการดำรัสเหนือเกล้า ฯ สั่งว่า

                        โดยที่ทรงพระราชดำริเห็นสมควรควบคุมกิจการขายทอดตลาดและค้าของเก่าให้ดีขึ้น

                        จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชบัญญัติขึ้นไว้โดยบทมาตราต่อไปนี้

 

                        มาตรา ๑  พระราชบัญญัตินี้ให้เรียกว่า “พระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาด

และค้าของเก่า พุทธศักราช ๒๔๗๔”

 

                        มาตรา ๒*  ให้ใช้พระราชบัญญัตินี้ตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม พุทธศักราช ๒๔๗๔

                        *[รก.๒๔๗๔/-/๗๒/๒๔ พฤษภาคม ๒๔๗๔]

 

                        มาตรา ๓  ในพระราชบัญญัตินี้

                        “ของเก่า” หมายความว่า ทรัพย์ที่เสนอขาย แลกเปลี่ยน หรือจำหน่ายโดยประการอื่น

อย่างทรัพย์ที่ใช้แล้ว ทั้งนี้รวมถึงของโบราณด้วย

                        “เสนาบดี” หมายความว่า เสนาบดีกระทรวงมหาดไทย


                        มาตรา  ๔*  ห้ามมิให้บุคคลใดประกอบการอาชีพดังต่อไปนี้ โดยมิได้รับอนุญาตสำหรับ

กิจการนั้นๆ จากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต

                        (๑) การขายทอดตลาด นอกจากการขายทอดตลาดซึ่งเจ้าหน้าที่ของรัฐบาลเป็นผู้ขาย

หรือการขายทอดตลาดเพื่อประโยชน์ของสมาคมหรือสาธารณประโยชน์ ซึ่งรัฐมนตรีสั่งเป็นหนังสือ

ให้ยกเว้นเฉพาะกรณี

                        (๒) การค้าของเก่า นอกจากการค้าของเก่าบางประเภทหรือบางชนิดซึ่งรัฐมนตรีได้

ประกาศยกเว้นในราชกิจจานุเบกษา

                        ของเก่าซึ่งรัฐมนตรีได้ประกาศยกเว้นดังกล่าวในวรรคก่อน เมื่อเห็นสมควร รัฐมนตรี

จะประกาศเพิกถอนการยกเว้นเสียทั้งหมด หรือแต่เพียงบางประเภท บางชนิดก็ได้ ผู้ค้าของเก่าประเภทหรือชนิดซึ่งได้มีประกาศเพิกถอนการยกเว้นดังกล่าวแล้ว จำต้องรับใบอนุญาตภายในกำหนดสามสิบวัน

นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป

                        *[มาตรา ๔ แก้ไขโดยพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า

(ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๔๘๑]

 

                        มาตรา ๕  คำร้องขอใบอนุญาตประกอบการอาชีพขายทอดตลาดหรือค้าของเก่านั้น

ท่านให้ทำตามแบบที่ระบุไว้ในกฎเสนาบดีและยื่นต่อเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต


                        มาตรา ๖*  ห้ามมิให้ออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ร้องขอตามความในมาตรา ๕ เว้นแต่ผู้นั้น

จะมีคุณสมบัติและพื้นความรู้ดังต่อไปนี้

                        (๑) มีอายุ ๒๐ ปีบริบูรณ์ขึ้นไป

                        (๒) มีความรู้หนังสือไทยพออ่านออกเขียนได้

                        (๓) เป็นผู้ที่ไม่เคยต้องโทษจำคุกตามกฎหมายลักษณะอาญา ภาค ๒ ส่วนที่ ๕ หมวดที่ ๕

หมวดที่ ๖ หมวดที่ ๗ หมวดที่ ๘ และส่วนที่ ๙ หมวดที่ ๑ หมวดที่ ๒ หมวดที่ ๓ หมวดที่ ๔ หมวดที่ ๕

และหมวดที่ ๖

                        *[มาตรา ๖ แก้ไขโดยพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า

(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๔๙๕]

 

                        มาตรา ๖ ทวิ*  ใบอนุญาตประกอบการอาชีพขายทอดตลาดหรือค้าของเก่า หากสูญหาย

ไปในกรณีใดก็ตาม ให้ผู้รับใบอนุญาตไปขอรับใบแทนใบอนุญาตจากเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต

ภายในระยะเวลาเจ็ดวันนับแต่วันสูญหาย

 

                        *[มาตรา ๖ ทวิ เพิ่มเติมในพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า

(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๔๙๕]

 

                        มาตรา ๗  ผู้ทอดตลาดต้อง

                        (ก) แสดงคำแจ้งความแห่งการขายทุกคราวไว้ ณ สถานที่ขายให้เห็นได้แจ้ง

                        (ข) อยู่ ณ ที่ขายในเวลาขายทอดตลาดและพร้อมที่จะแสดงใบอนุญาตต่อนายตรวจ

เมื่อเรียกตรวจ

                        (ค) มีสมุดบัญชีสำหรับการขายทุกคราว และจดรายการข้อสำคัญทั้งปวงแห่งการขาย

นั้นๆ ลงไว้

                        (ฆ) แจ้งวันและสถานที่ขายให้นายตรวจทราบล่วงหน้าอย่างน้อยสามวันเต็ม

                        (ง) แสดงนามของตนและคำว่า ผู้ทอดตลาด ไว้เหนือประตูชั้นนอกแห่งสำนักงาน

                        เพื่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน ถ้านายตรวจประสงค์จะทราบรายการข้อสำคัญ

อันเกี่ยวกับทรัพย์ที่ขายและได้มีหนังสือแสดงความประสงค์นี้แล้วท่านว่าผู้ทอดตลาดต้องบอกรายการ

ที่ประสงค์นั้น

 

                        มาตรา ๘*  ผู้ค้าของเก่าต้อง

                        (ก) แสดงนามของตนและคำว่า ผู้ค้าของเก่า ไว้ ณ ที่ทำการค้าของตน พร้อมทั้ง

ใบอนุญาตในที่อันเห็นได้แจ้ง

                        (ข) มีสมุดบัญชีสำหรับการค้าของตนและจดรายการข้อสำคัญทั้งปวงแห่งการค้าลงไว้

ทุกราย สมุดบัญชีตามที่กล่าวนี้ต้องทำตามแบบและนำมาให้เจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตลงนามและ

ประทับตราก่อนทุกเล่ม

                        (ค) แจ้งแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือนายตรวจ เมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าทรัพย์ที่มีผู้มา

เสนอหรือโอนให้ตนนั้นเป็นทรัพย์ที่ได้มาโดยทางทุจริต

                        (ฆ) ทำเลขลำดับเป็นเครื่องหมายปิดไว้ที่ของให้ตรงกับเลขลำดับในสมุดบัญชีเพื่อ

สะดวกในการสำรวจ

                        *[มาตรา ๘ แก้ไขโดยพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า

(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๔๙๕]

 

                        มาตรา ๙*  ให้เจ้าพนักงานมีอำนาจเพิกถอนใบอนุญาตเมื่อปรากฏว่าผู้รับอนุญาตขาด

คุณสมบัติตามที่ระบุไว้ในมาตรา ๖ (๑) (๒) หรือต้องคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุกตามความผิดซึ่งได้

ระบุไว้ตามมาตรา ๖ (๓) หรือต้องคำพิพากษาในฐานทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้ถึงสองครั้งในปี

เดียวกัน

                        *[มาตรา ๙ แก้ไขโดยพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า

(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๔๙๕]

 

                        มาตรา ๑๐  เมื่อเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาตมีคำสั่งไม่ออกใบอนุญาตหรือสั่งเพิกถอน

ใบอนุญาตที่ออกให้แล้วก็ดี ท่านว่าเสนาบดีจะสั่งเปลี่ยนแปลงคำสั่งของเจ้าพนักงานก็ได้ แต่ผู้ร้องหรือ

ผู้รับใบอนุญาตต้องยื่นคำร้องต่อเสนาบดีภายในสิบวัน นับแต่วันที่ได้รับคำบอกกล่าวคำสั่งของ

เจ้าพนักงานเป็นต้นไป

 

                        มาตรา ๑๑*  ท่านว่าใบอนุญาตตามพระราชบัญญัตินี้เป็นใบอนุญาตเฉพาะตัว โอนกัน

ไม่ได้ และสมบูรณ์เพียงวันที่ ๓๑ ธันวาคมทุกปี

                        *[มาตรา ๑๑ แก้ไขโดยพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า

(ฉบับที่ ๓) พุทธศักราช ๒๔๘๔]

 

                        มาตรา ๑๒*  ผู้ใดประกอบอาชีพขายทอดตลาดหรือค้าของเก่าโดยไม่ได้รับใบอนุญาต

หรือประกอบอาชีพขายทอดตลาดหรือค้าของเก่า ภายหลังที่ได้มีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตตามมาตรา ๙

ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินห้าพันบาทหรือทั้งจำทั้งปรับ

                        ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่งเป็นการกระทำเกี่ยวกับการขายทอดตลาดหรือ

ค้าของเก่าประเภทโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ

และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท หรือ

ทั้งจำทั้งปรับ

                        *[มาตรา ๑๒ แก้ไขโดยพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า

(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕]

 

                        มาตรา ๑๒ ทวิ*  ผู้รับใบอนุญาตผู้ใด ทำการขายทอดตลาดหรือค้าของเก่าโดย

ใบอนุญาตขาดอายุหรือทำการขายทอดตลาดหรือค้าของเก่าโดยไม่ปฏิบัติตามมาตรา ๖ ทวิ มาตรา ๗

มาตรา ๘ (ก) (ข) (ฆ) หรือมาตรา ๑๓ หรือฝ่าฝืนกฎกระทรวงที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ ต้องระวาง

โทษปรับไม่เกินสองพันบาท

                        *[มาตรา ๑๒ ทวิ เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า

(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕]

 

                        มาตรา ๑๒ ตรี*  ผู้รับใบอนุญาตประกอบอาชีพขายทอดตลาดหรือค้าของเก่าผู้ใด

ไม่แจ้งแก่เจ้าหน้าที่ตำรวจ หรือนายตรวจ ทันทีเมื่อมีเหตุอันควรสงสัยว่าทรัพย์ที่มีผู้มาเสนอหรือโอน

ให้ตนนั้นเป็นทรัพย์สินที่ได้มาโดยทุจริต ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หนึ่งปีถึงสามปี หรือปรับตั้งแต่

หนึ่งหมื่นบาทถึงสามหมื่นบาท

                        ถ้าการกระทำความผิดตามวรรคหนึ่ง เป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์อันเป็นโบราณวัตถุ

หรือศิลปวัตถุตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุและพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติต้อง

ระวางโทษจำคุกตั้งแต่ห้าปีถึงสิบห้าปี หรือปรับตั้งแต่ห้าหมื่นบาทถึงหนึ่งแสนห้าหมื่นบาท

                        *[มาตรา ๑๒ ตรี เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า

(ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕]

 

                        มาตรา ๑๒ จัตวา*  ในกรณีที่ผู้กระทำความผิดต้องรับโทษตามพระราชบัญญัตินี้เป็น

นิติบุคคล กรรมการผู้จัดการ ผู้จัดการ หรือผู้แทนของนิติบุคคลนั้น ต้องรับโทษตามที่บัญญัติไว้สำหรับ

ความผิดนั้นๆ ด้วย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการกระทำนั้นตนมิได้รู้เห็นหรือยินยอมด้วย

                        *[มาตรา ๑๒ จัตวา เพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและ

ค้าของเก่า (ฉบับที่ ๕) พ.ศ. ๒๕๓๕]

 

                        มาตรา ๑๓*  ในระหว่างตั้งแต่พระอาทิตย์ขึ้นจนถึงพระอาทิตย์ตก นายตรวจและ

เจ้าพนักงานซึ่งรัฐมนตรีตั้งให้มีหน้าที่ควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า ชอบที่จะเข้าตรวจ

ใบอนุญาต สมุดบัญชี และทรัพย์สิ่งของในร้านค้าได้ ผู้รับใบอนุญาตต้องนำใบอนุญาต สมุด บัญชี

และทรัพย์สิ่งของตามที่เรียกตรวจ ออกให้ตรวจโดยทันที

                        *[มาตรา ๑๓ แก้ไขโดยพระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า

(ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๔๙๕]

 

                        มาตรา ๑๔  บุคคลใดประกอบการอาชีพขายทอดตลาดหรือค้าของเก่าอยู่ใน

วันประกาศใช้พระราชบัญญัตินี้ ท่านให้ยื่นคำร้องขอรับใบอนุญาตภายในกำหนดสามเดือนนับแต่

วันใช้พระราชบัญญัตินี้เป็นต้นไป

 

                        มาตรา ๑๕  ให้เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตาม

พระราชบัญญัตินี้ และให้มีอำนาจออกกฎเสนาบดี ตั้งเจ้าพนักงานผู้ออกใบอนุญาต และนายตรวจ

กำหนดอัตราค่าธรรมเนียมการออกใบอนุญาตและว่าด้วยกิจการอื่นๆ เพื่อปฏิบัติการให้เป็นไปตาม

บทแห่งพระราชบัญญัตินี้

                        กฎเสนาบดีนั้นเมื่อได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้

                        ประกาศมา ณ วันที่ ๑๕ พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๔๗๔ เป็นปีที่ ๗ ในรัชกาลปัจจุบัน

 

 

_______________

                   พระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า (ฉบับที่ ๒) พุทธศักราช ๒๔๘๑

 

                        มาตรา ๔  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยมีหน้าที่รักษาการให้เป็นไปตาม

พระราชบัญญัตินี้

                        [รก.๒๔๘๒/-/๕๑๒/๑ พฤษภาคม ๒๔๘๒]

 

                       

                     พระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า (ฉบับที่ ๓) พุทธศักราช ๒๔๘๔

 

                        มาตรา ๔  ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยรักษาการให้เป็นไปตาม

พระราชบัญญัตินี้

                        [รก.๒๔๘๔/-/๑๕๐๔/๔ พฤศจิกายน ๒๔๘๔]

 

                       

               พระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า (ฉบับที่ ๕) พุทธศักราช ๒๕๓๕

 

หมายเหตุ:  เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่บทกำหนดโทษและอัตราโทษใน

พระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า พุทธศักราช ๒๔๗๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย

พระราชบัญญัติควบคุมการขายทอดตลาดและค้าของเก่า (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๔๙๕ ได้กำหนดไว้ไม่

เหมาะสมและมีอัตราโทษต่ำ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เป็นบทกำหนดโทษเกี่ยวกับการขายทอดตลาด

หรือค้าของเก่าประเภทโบราณวัตถุหรือศิลปวัตถุตามกฎหมายว่าด้วยโบราณสถาน โบราณวัตถุ ศิลปวัตถุ

และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

                        [รก.๒๕๓๕/๑๖/๑๔/๔ มีนาคม ๒๕๓๕]